ขนมไทยโบราณ ขนมฝักบัว
KHA NOM FAK BUA
ความเป็นมาของขนมฝักบัว หรือ ขนมดอกบัว
ขนมดอกบัว หรือ ขนมฝักบัว เป็นขนมโบราณ มีลักษณะ เป็นแผ่นกลม รูปร่างคล้ายฝักบัว แป้งนุ่ม ขอบขนมหยักอย่างสม่ำเสมอโดยรอบ และ กระดกขึ้นมา ตรงกลางนูน และ นุ่ม รสชาติหวาน ด้านล่างของขนมเป็นใย เหมือนสายบัว เมื่อฉีกขนมออก ภายในจะเป็นโพรงจากก้นมาถึงด้านหน้ามีลักษณะเช่นเดียวกับฝักบัวจริงๆ สูตรดั้งเดิม จะใช้ แป้งข้าวเจ้า น้ำตาลปี๊บ หรือ น้ำตาลมะพร้าว และ กะทิ ปัจจุบันมีการดัดแปลงโดยใส่น้ำใบเตยแทนน้ำเปล่า ทำให้เป็นสีเขียว สวย น่ารับประทาน
ดั้งเดิมเป็นขนมพื้นเมืองโบราณของคนปักษ์ใต้ โดยดัดแปลงมาจาก การทำขนมในเทศกาลเดือนสิบ ที่ชื่อว่าขนมรังนก คนปักษ์ใต้ จะเรียกขนมฝักบัวว่า ขนมจูจุ่น หรือ จู้จุ่น ส่วนเด็กๆ มักจะเรียกว่า ดือจุ่น หรือ สะดือจุ่น เพราะลักษณะขนมที่พองตรงกลาง เหมือนสะดือจุ่น นั่นเองค่ะ ขนมชนิดนี้นับเป็นขนมที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ของบรรพบุรุษของเรา ซึ่งในปัจจุบันก็หาทานได้ยากซะแล้วค่ะ นิยมใช้ในเทศกาลทำบุญ พิธีแต่งงาน และ งานพิธีต่างๆ เนื่องจาก ขนมฝักบัว มีความหมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง ความก้าวหน้า และโชคลาภ
ส่วนผสม
6. หัวกะทิ 1 ถ้วยตวง
7. น้ำมันสำหรับทอดขนม
รายการดังกล่าวสามารถหาซื้อได้ตามตลาดหรือตามร้านค้าชำแถวบ้านได้เลยคร้าบ
1. แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง
2. แป้งสาลี 1 ถ้วยตวง
3. น้ำตาลทราย 1 ถ้วยตวง
4. เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
5. น้ำใบเตยคั้นสด 1 ถ้วยตวง
วิธีทำ
ขนมฝักบัว
5.ตั้งกระทะใส่น้ำมัน รอจนน้ำมันร้อนแล้วหยอดแป้งลงไป 1 ช้อน พอแป้งเริ่มสุกแล้วกลับด้าน ขนมจะพองฟู ทอดต่อจนสีเหลืองสวย ตักขึ้นสะเด็ดน้ำมัน
แนวคิดในการออกแบบ
จุดตรงกลางโลโก้มีลักษณะที่คล้ายดอกบัวทำให้นึกถึงขนมฝักบัวของร้าน โลโก้สีเขียว หมายถึง ขนมฝักบัวที่ทำมาจากธรรมชาติ ไม่แต่งกลิ่น ไม่แต่งสี ใดๆ
ความหมายของสี
สีเขียว
สีที่ทำให้รู้สึกสุขภาพดี ปลอดภัย เหมือนอยู่กลางธรรมชาติ เมนูอาหารสีเขียวมักใช้ในกลุ่มอาหารเฮลตี้ ดังนั้นร้านอาหารที่จำหน่ายอาหารเพื่อสุขภาพ มักใช้ผัก ผลไม้สีเขียวในการนำเสนอ เพื่อกระตุ้นความรู้สึกอยากรับประทานที่ดีต่อสุขภาพ ให้ความรู้สึกเเข็งแรง
ช่องทางการติดต่อ